วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่11

วิธีใช้หนังสืออ้างอิง
เข้าการใช้หนังสืออ้างอิง ผู้ใช้ควรต้องมีความเข้าใจในเรื่องต่อไปนี้
1. พิจารณาเรื่องที่ต้องการสืบค้นให้แน่ชัดว่าต้องการเรื่องอะไร แล้วจึงเลือกประเภทหนังสืออ้างอิงที่คาดว่าจะให้คำตอบเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการนั้น
2. อ่านคำชี้แจงหรือวิธีใช้ก่อนการใช้งาน คำอธิบายวิธีใช้มักจะปรากฏอยู่ในส่วนนำเรื่องหรือเล่มแรกของหนังสือชุด
3. พิจารณาการเรียบเรียงเนื้อหาของหนังสืออ้างอิง โดยทั่วไปหนังสืออ้างอิงจะจัดเรียงเนื้อหาตามลำดับตัวอักษร ตามลำดับหัวเรื่อง หรือตามลำดับเหตุการณ์
4. ศึกษาเครื่องหมาย และอักษรย่อที่ใช้ในเล่ม หนังสืออ้างอิงมักใช้สัญลักษณ์พิเศษหรืออักษรย่อ เช่น สัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับการออกเสียงคำ อักษรย่อสำหรับบอกลักษณะและหน้าที่ของคำในหนังสืออ้างอิงประเภทพจนากรม เป็นต้น
5. ใช้เครื่องมือช่วยค้นที่มีในหนังสืออ้างอิง โดยเฉพาะการใช้ดัชนีท้ายเล่ม จะช่วยให้ค้นหาเรื่องราวในเล่มได้อย่างรวดเร็ว ดัชนีช่วยค้นในหนังสืออ้างอิงแต่ละชื่อเรื่องมีวิธีใช้แตกต่างกัน ดังนั้นก่อนใช้ดัชนีค้นเรื่องจึงควรอ่านวิธีใช้ให้ใจ



ที่มา

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 10

ตัวอย่างหนังสือคู่มือ ได้แก่
สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. (2544). ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป : หลักการวินิจฉัยและรักษาโรค/280 โรค และการดูแลรักษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน. 950 หน้า
เป็นหนังสือคู่มือสำหรับบุคลากรทางสาธารณสุขและประชาชนทั่วไป ให้ความรู้ด้านการวินิจฉัยโรค การดูและรักษาและป้องกันโรค แบ่งเนื้อหาเป็น 4 ภาคคือ การวินิจฉัยโรคและรักษาโรค อาการของโรคต่าง ๆ การใช้ยา และภาคผนวก ใช้ภาษาง่าย ๆ คนทั่วไปอ่านได้ พร้อมภาพประกอบลายเส้น มีสารบัญแบ่งเนื้อหาอย่างละเอียดและดัชนีท้ายเล่ม

เคล็ดลับน่ารู้คู่บ้านและครอบครัว. (2544). กรุงเทพฯ : รีดเดอร์ส ไดเจสท์ (ประเทศไทย). 472 หน้า
เป็นหนังสือคู่มือที่รวบรวมเกร็ดความรู้เกี่ยวกับบ้าน เช่น การจัดเก็บเอกสาร การจัดการเงิน การบำรุงรักษาและซ่อมแซมอุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้าน การเลือกซื้อ เก็บรักษาและเคล็ดลับการเตรียมอาหาร การตกแต่งสวนและการดูแลเครื่องเรือน พร้อมภาพประกอบสี และดัชนีท้ายเล่ม

ที่มา

วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่9

หนังสือคู่มือ (Handbook)
หนังสือคู่มือ เป็นหนังสือที่ให้ข้อเท็จจริง ตัวเลข สถิติต่าง ๆ ตลอดจนเรื่องราวที่ควรรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ โดยเสนอข้อเท็จจริงอย่างสั้น เพื่อใช้เป็นคู่มือในการตอบคำถามเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งอย่างรวดเร็ว หรือคู่มือปฏิบัติในวิชาใดวิชาหนึ่งเช่น คู่มือในวิชาเคมี เป็นต้น
หนังสือคู่มือจัดแบ่งตามเนื้อหาได้ 2 ประเภทคือ
1. หนังสือคู่มือทั่วไป หนังสือคู่มือทั่วไป ให้ความรู้เบ็ดเตล็ดทั่ว ๆ ไปไม่จำกัดสาขาวิชา เช่น คู่มือผู้ซื้อ Guinness Book of World Records เป็นต้น
2. หนังสือคู่มือเฉพาะวิชา รวบรวมความรู้เฉพาะสาขาวิชาพร้อมคำอธิบายอย่างสั้น ๆ เช่น ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป เคล็ดลับน่ารู้คู่บ้านและครอบครัว. How Science Works เป็นต้น



ที่มา

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่8

นามานุกรมไทย
ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายชื่อต่าง ๆ เช่น ชื่อบุคคล องค์กร บริษัท ห้างร้าน สถาบัน สมาคม หรือหน่วยราชการต่าง ๆ โดยเรียบเรียงตามตัวอักษรเพื่อความสะดวกในการค้นหารายชื่อ
- สมุดโทรศัพท์
- สมุดหน้าเหลือง
- นามสงเคราะห์ส่วนราชการไทย


ที่มา

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่7

บรรณานุกรม
ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายชื่อหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ รายละเอียดเกี่ยวกับชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ จำนวนหน้า ราคา
- หนังสือดีสำหรับห้องสมุด
- บรรณานุกรมสิ่งพิมพ์รัฐบาล
- บรรณานุกรมแห่งชาติ
- รายชื่อหนังสือสำหรับเยาวชน

ดรรชนีวารสาร
คือหนังสือที่รวบรวมรายชื่อของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารต่าง ๆ ให้รายละเอียดของแต่ละรายชื่อตามลำดับดังนี้ ชื่อ นามสกุล ผู้เขียนบทความ ชื่อบทความ ชื่อวารสาร ปีที่หรือเล่มที่ ฉบับที่ (เดือน ปี พ.ศ.) หน้าที่ปรากฏบทความ
- ดรรชนีวารสารไทย


ที่มา