วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่11

วิธีใช้หนังสืออ้างอิง
เข้าการใช้หนังสืออ้างอิง ผู้ใช้ควรต้องมีความเข้าใจในเรื่องต่อไปนี้
1. พิจารณาเรื่องที่ต้องการสืบค้นให้แน่ชัดว่าต้องการเรื่องอะไร แล้วจึงเลือกประเภทหนังสืออ้างอิงที่คาดว่าจะให้คำตอบเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการนั้น
2. อ่านคำชี้แจงหรือวิธีใช้ก่อนการใช้งาน คำอธิบายวิธีใช้มักจะปรากฏอยู่ในส่วนนำเรื่องหรือเล่มแรกของหนังสือชุด
3. พิจารณาการเรียบเรียงเนื้อหาของหนังสืออ้างอิง โดยทั่วไปหนังสืออ้างอิงจะจัดเรียงเนื้อหาตามลำดับตัวอักษร ตามลำดับหัวเรื่อง หรือตามลำดับเหตุการณ์
4. ศึกษาเครื่องหมาย และอักษรย่อที่ใช้ในเล่ม หนังสืออ้างอิงมักใช้สัญลักษณ์พิเศษหรืออักษรย่อ เช่น สัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับการออกเสียงคำ อักษรย่อสำหรับบอกลักษณะและหน้าที่ของคำในหนังสืออ้างอิงประเภทพจนากรม เป็นต้น
5. ใช้เครื่องมือช่วยค้นที่มีในหนังสืออ้างอิง โดยเฉพาะการใช้ดัชนีท้ายเล่ม จะช่วยให้ค้นหาเรื่องราวในเล่มได้อย่างรวดเร็ว ดัชนีช่วยค้นในหนังสืออ้างอิงแต่ละชื่อเรื่องมีวิธีใช้แตกต่างกัน ดังนั้นก่อนใช้ดัชนีค้นเรื่องจึงควรอ่านวิธีใช้ให้ใจ



ที่มา

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่ 10

ตัวอย่างหนังสือคู่มือ ได้แก่
สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. (2544). ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป : หลักการวินิจฉัยและรักษาโรค/280 โรค และการดูแลรักษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน. 950 หน้า
เป็นหนังสือคู่มือสำหรับบุคลากรทางสาธารณสุขและประชาชนทั่วไป ให้ความรู้ด้านการวินิจฉัยโรค การดูและรักษาและป้องกันโรค แบ่งเนื้อหาเป็น 4 ภาคคือ การวินิจฉัยโรคและรักษาโรค อาการของโรคต่าง ๆ การใช้ยา และภาคผนวก ใช้ภาษาง่าย ๆ คนทั่วไปอ่านได้ พร้อมภาพประกอบลายเส้น มีสารบัญแบ่งเนื้อหาอย่างละเอียดและดัชนีท้ายเล่ม

เคล็ดลับน่ารู้คู่บ้านและครอบครัว. (2544). กรุงเทพฯ : รีดเดอร์ส ไดเจสท์ (ประเทศไทย). 472 หน้า
เป็นหนังสือคู่มือที่รวบรวมเกร็ดความรู้เกี่ยวกับบ้าน เช่น การจัดเก็บเอกสาร การจัดการเงิน การบำรุงรักษาและซ่อมแซมอุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้าน การเลือกซื้อ เก็บรักษาและเคล็ดลับการเตรียมอาหาร การตกแต่งสวนและการดูแลเครื่องเรือน พร้อมภาพประกอบสี และดัชนีท้ายเล่ม

ที่มา

วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่9

หนังสือคู่มือ (Handbook)
หนังสือคู่มือ เป็นหนังสือที่ให้ข้อเท็จจริง ตัวเลข สถิติต่าง ๆ ตลอดจนเรื่องราวที่ควรรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ โดยเสนอข้อเท็จจริงอย่างสั้น เพื่อใช้เป็นคู่มือในการตอบคำถามเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งอย่างรวดเร็ว หรือคู่มือปฏิบัติในวิชาใดวิชาหนึ่งเช่น คู่มือในวิชาเคมี เป็นต้น
หนังสือคู่มือจัดแบ่งตามเนื้อหาได้ 2 ประเภทคือ
1. หนังสือคู่มือทั่วไป หนังสือคู่มือทั่วไป ให้ความรู้เบ็ดเตล็ดทั่ว ๆ ไปไม่จำกัดสาขาวิชา เช่น คู่มือผู้ซื้อ Guinness Book of World Records เป็นต้น
2. หนังสือคู่มือเฉพาะวิชา รวบรวมความรู้เฉพาะสาขาวิชาพร้อมคำอธิบายอย่างสั้น ๆ เช่น ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป เคล็ดลับน่ารู้คู่บ้านและครอบครัว. How Science Works เป็นต้น



ที่มา

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่8

นามานุกรมไทย
ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายชื่อต่าง ๆ เช่น ชื่อบุคคล องค์กร บริษัท ห้างร้าน สถาบัน สมาคม หรือหน่วยราชการต่าง ๆ โดยเรียบเรียงตามตัวอักษรเพื่อความสะดวกในการค้นหารายชื่อ
- สมุดโทรศัพท์
- สมุดหน้าเหลือง
- นามสงเคราะห์ส่วนราชการไทย


ที่มา

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่7

บรรณานุกรม
ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายชื่อหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ รายละเอียดเกี่ยวกับชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ จำนวนหน้า ราคา
- หนังสือดีสำหรับห้องสมุด
- บรรณานุกรมสิ่งพิมพ์รัฐบาล
- บรรณานุกรมแห่งชาติ
- รายชื่อหนังสือสำหรับเยาวชน

ดรรชนีวารสาร
คือหนังสือที่รวบรวมรายชื่อของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารต่าง ๆ ให้รายละเอียดของแต่ละรายชื่อตามลำดับดังนี้ ชื่อ นามสกุล ผู้เขียนบทความ ชื่อบทความ ชื่อวารสาร ปีที่หรือเล่มที่ ฉบับที่ (เดือน ปี พ.ศ.) หน้าที่ปรากฏบทความ
- ดรรชนีวารสารไทย


ที่มา

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่6

หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์
เป็นหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ต่าง ๆ บอกลักษณะทางภูมิศาสตร์มี 3 ประเภทคือ
1.หนังสือแผนที่ แผนที่ แสดงที่ตั้ง อาณาเขต ประเทศ เมือง ทะเล
2.อักขรานุกรมประวัติศาสตร์ ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ชื่อเฉพาะทางภูมิศาสตร์
3.หนังสือนำเที่ยว (Guiebooks) เป็นคู่มือในการนำเที่ยว แนะนำสถานที่เที่ยวประวัตินั้น ๆ การเดินทาง ที่พัก ค่าใช้จ่าย
- ภูมิลักษณไทย
- อักขรานุกรมภูมิศาสตร์
- Geographical Dictonnary

สิ่งพิมพ์รัฐบาล
ให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของรัฐบาล หรือความรู้ในแขนงวิชาต่าง ๆ หน่วยราชการเป็นผู้รับผิดชอบจัดพิมพ์เผยแพร่ผลการปฏิบัติงานให้ประชาชนมี 3 ประเภท
1.บันทึกผลการบริหารงาน ของรัฐบาลหรือหน่วยงานต่าง ๆ
2.รายงานเกี่ยวกับการค้นคว้าวิจัย รวมทั้งสถิติ และข้อมูลต่าง ๆ
3.ให้ความรู้และเรื่องราวทั่วไปทุกแขนงวิชา
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- ราชกิจจานุเบกษา 2417 – ปัจจุบัน
- สยามจดหมายเหตุ


ที่มา

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่5

หนังสือรายปี
คือหนังสือที่รวมรวบเหตุการณ์สำคัญ ๆ และเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่นมารวมทั้งสถิติต่าง ๆ จะออกเป้นประจำทุก ๆ ปี มีทั้งของรัฐบาลและเอกชนมี 3 ประเภท
1.รายงานประจำปี เป็นหนังสือที่ออกโดยหน่วยงานราชการและเอกชนเพื่อแถลวผลงานการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา
2.บันทึกความก้าวหน้าเฉพาะสาขาวิชา รายงานใดเรื่องหนึ่งหรือบันทึกกิจกรรมของหน่วยงานนั้น ๆ จัดทำขึ้นรึ
3.หนังสือสถิติ จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อความบันเทิงเพื่อเก็บสถิติเกี่ยวกับ สิ่งแรก สิ่งที่ดีที่สุด
- สยามจดหมายเหตุ
- สมพัตสร
- รายงานประจำปี

อักขรานุกรมชีวประวัติ
ให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติบุคคลสำคัญเรียงตามลำดับอักษร บอกชื่อ ปีเกิด ปีตาย ภูมิลำเนา พื้นฐานการศึกษา ผลงานที่สำคัญ อาชีพ ตำแหน่งหน้าที่การงาน เป็นหนังสือที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลสำคัญ มีลักษณะดังนี้
1.รวบรวมชีวประวัติบุคคลสำคัญ
2.เรียงตามลำดับอักษรของชื่อสกุลของเจ้าของประวัติ
3.ให้รายละเอียด เช่น ปีเกิด ปีตาย ภูมิลำเนา พื้นฐานการศึกษา ผลงาน อาชีพ

ที่มา



ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่4

พจนานุกรม
คือหนังสือที่รวบรวมคำต่าง ๆ จัดเรียงตามลำดับอักษรให้ความรู้เกี่ยวกับตัวคำนั้น ๆ ในด้านการสะกด การออกเสียง ความหมายของคำ ชนิดของคำ จำนวนพยางค์ในแต่ละคำ ประวัติที่มาของคำ วิธีใช้คำในความหมาย
- พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
- พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ
- พจนานุกรมไทยอังกฤษ
- พจนานุกรมไทย-ลาว-อังกฤษ

สารานุกรม (Encyclopedias)
หนังสือที่รวบรวมเรื่องราวในแขนงวิชาต่าง ๆ โดยสังเขป อาจให้ความรู้กว้างเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา วิวัฒนาการของเรื่องนั้น ๆ เขียนโดยผู้เชี่ยวชาญ ในแต่ละสาขา การจัดเรียงตามลำดับเนื้อเรื่อง
- สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
- สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย
- สารานุกรมโลกของเรา


ที่มา

วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ส่งหัวข้อโปรเจ็ก

คลิกที่นี่ค่ะ

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่3

ลักษณะการเรียงลำดับเนื้อหาของหนังสืออ้างอิง
เพื่อให้การค้นหาเรื่องที่การได้สะดวกและรวดเร็ว การจัดเรียงลำดับเนื้อหาของหนังสืออ้างอิงแต่ละประเภทจึงแตกต่างความเหมาะสม โดยทั่วไปมีการเรียงลำดับเนื้อเรื่อง 5 วิธี คือ
1. การเรียงตามลำดับอักษรแบบพจนานุกรม โดยไม่คำนึงว่าเรื่องนั้นๆจะเป็นชื่อ คน สถานที่ หรือชื่อวิชา
2. การเรียงตามลำดับอักษรเฉพาะประเภท เช่นเฉพาะชื่อคน เฉพาะชื่อวิชา
3. การเรียงตามลำดับเวลาหรือเหตุการณ์ เป็นการเรียงเนื้อหาตามลำดับก่อนหลังของเหตูการณ์ที่เกิดขึ้น
4. การเรียงลำดับตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ อาจเรียงตามลำดับของแต่ละประเทศในโลก
5. การเรียงตามวิธีแบ่งหมวดหมู่ โดยมากเป็นหนังสือประเภทบรรณานุกรมเพื่อให้ผุ้ใช้ทราบว่าในแต่ละหมวดวิชามีหนังสืออะไรบ้างใครเป็นผู้แต่ง
ประเภทของหนังสืออ้างอิง
หนังสืออ้างอิงอาจแบ่งเป็น 10 ประเภท ดังนี้
1. พจนานุกรม (Dictionaries)
2. สารานุกรม (Encyclopedias)
3. หนังสือรายปี (Yearbooks)
4. อักขรานุกรมชีวประวัติ (Biographical Dictionaries)
5. หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ (Geographical Sources)
6. สิ่งพิมพ์รัฐบาล (Government Publications)
7. หนังสือบรรณานุกรม (Bibliographies)
8. ดรรชนีวารสาร (Periodical Index)
9. นามานุกรม (Directories)
10. คู่มือต่างๆ (Handbook, Manuals)
ที่มา: ธาดาศักดิ์ วชิรปรีชาพงษ์. (2522), หนังสืออ้างอิง.หลัดบรรณารักษศาสตร์-
เบื้องต้น.ฉบับที่2.พิมพ์ที่ กรุงเทพฯ: สถานสงเคราะห์หญิงปากเกร็ด.

ที่มา

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่2

ลักษณะของหนังสืออ้างอิงที่ดี
1.ผู้แต่งหรือผู้รวบรวม (Authority) เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องที่เขียนอย่างแท้จริง
2.ขอบเขตของหนังสือ (
Scope) ควรแจ้งให้ผู้ใช้ทราบว่ามีขอบเขตใช้ค้นคว้า เรื่องราวชนิดใดได้บ้าง และควรมีเนื้อหาทันสมัย
3.วิธีเขียน (
Treatment) เขียนให้เข้าใจง่าย ไม่สับสน
4.การเรียงลำดับ (
Arrangement) จัดเรียงลำดับเนื้อหาให้ใช้ง่าย แลสะดวก ในการค้นคว้า
5.รูปเล่ม (
Format) ขนาดรูปเล่มกะทัดรัด การเย็บเล่มเข้าปกแข็งแรงทนทาน
7.บรรณานุกรม (
Bibliography) มีรายชื่อหนังสือและวัสดุอ้างอิงที่ใช้ประกอบการเรียบเรียง เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าเรื่องนั้นน่าเชื่อถือเพียงใด และจะค้นหาอ่านเพิ่มเติมได้จากที่ใด
7.ลักษณะพิเศษอื่นๆ ที่อำนวยความสะดวกในการค้นคว้าเรื่องราวต่างๆ เช่น

7.1 Volume Guide คือตัวเลข ตัวอักษร
7.2 ดรรชนีหัวแม่มือ (
Thumb Index)
7.3
Running Head หรือ Guide Word คือคำที่ปรากฏอยู่ที่มุมบนทั้งสองของกระดาษทุกหน้า
7.4 ส่วนโยง
Cross Reference คือการแนะนำให้ไปอ่านเรื่องที่การ
7.5 ดรรชนี (
Index) คือการลำดับที่คำหรือข้อความเรียงไว้ตามลำดับตัวอักษรมีเลขหน้ากำกับไว้ เพื่อแสดงว่าคำหรือข้อความนั้นๆมีรายละเอียดปรากฏอยู่ในหน้าใดบ้างของหนังสือเล่มนั้นช่วยประหยัดเวลาในการค้นคว้าเรื่องราวต่างๆ

ที่มา

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่1

หนังสืออ้างอิง
ความของหนังสือหนังสืออ้างอิง
หนังสืออ้างอิง (Reference Books) คือหนังสือที่ใช้เรื่องราวและข้อเท็จจริง เพื่อใช้ค้นคว้าอ่านประกอบ หรืออ้างอิงเรื่องราวเพียงตอนใดตอนหนึ่งในเล่มเท่านั้น ไม่ใช้หนังสือที่ต้องอ่านทั้งเล่ม เพื่อความสะดวกในการค้นคว้า ห้องสมุดจะจัดแยกหนังสืออ้างอิงออกจากหนังสือธรรมดาและไม่อนุญาตให้ยืมออกนอกห้องสมุด
ลักษณะทั่วไปของหนังสืออ้างอิง
หนังสืออ้างอิงจะมีลักษณะทั่วๆไปดั้งนี้
1.เป็นหนังสือที่มุ่งให้ข้อเท็จจริงและความรู้เป็นสำคัญ
2.รวบรวมความรู้ในสาขาวิชาต่างๆมีขอบเขตกว้างขวางเพื่อใช้ตอบปัญหาทั่วๆไป
3.เขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิหลายๆท่าน แต่ละท่านเป็นผู้ที่ มีความรู้ความชำนาญในเรื่องนั้นๆอย่างแท้จริง
4.จัดเรียบเรียงเนื้อเรื่องไว้อย่างมีระเบียบ เพื่อให้ใช้ได้สะดวกและรวดเร็ว
5.มักมีขนาดแตกต่างจากหนังสือธรรมดา เช่นขนาดใหญ่กว่า มีความยาวมาก
6.ไม่จำเป็นต้องอ่านตลอดทั้งเล่ม
7.ไม่อนุญาตให้ยืมออกนอกห้องสมุด เพราะ
7.1 เป็นหนังสือที่ใช้อ่านชั่วคราวไม่ต้องอ่านทั้งเล่ม
7.2 ราคาค่อนข้างแพง
7.3 มักมีขนาดใหญ่
7.4 บางทีเป็นชุดมีหลายจบ ถ้าเล่มใดเล่มหนึ่งหายไป จะทำให้ประโยชน์ของหนังสือชุดนั้นขาดความสมบูรณ์ไป
7.5 หนังสืออ้างอิงมีผู้ใช้มาก ห้องสมุดจำเป็นต้องจัดหนังสือเหล่านี้ไว้ให้พร้อมสำหรับผู้ใช้อยู่เสมอ
หนังสืออ้างอิงภาษาไทยจะมีอักษร (อ้างอิง) และหนังสืออ้างอิงภาษาอังกฤษจะมี R หรือ Ref (Reference) อยู่เหนือเลขเรียกหนังสือทุกเล่ม


ที่มา

วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เรื่องของหนูแกสบี้


คิดก่อนที่จะเลี้ยง " เรื่องของหนูแกสบี้ "
สำหรับเพื่อนๆ มือใหม่ที่ คิดจะเลี้ยงเจ้าแกสบี้น้อย
ควรที่จะเตรียมความพร้อม ต่างๆ และ ตรวจดูว่า เราพร้อมหรือยังที่จะรับเลี้ยงเขา
ซึ่ง การเลี้ยงแกสบี้ หรือว่าสัตว์ชนิดใดก็ตาม ก่อนที่จะเลี้ยงเราควรคิดคำนึงถึงเรื่อง ต่างๆ
และ ต้องพร้อมที่จะเลี้ยงเขาจริงๆ ซึ่งสิ่งที่เราจะรับเลี้ยง นั่นคือ 1 ชีวิต หนูแกสบี้ก็ มีจิตรใจ
มีความคิด มีความรู้สึก เราจึงควรมราจะคิดก่อนว่าเรานั้นพร้อมหรือยัง.....
การเลี้ยงแกสบี้ คุณควรมีอาหารและน้ำมาให้เขาอยู่เสมอ นั่นก็คือ ค่าใช้จ่ายต่างๆ
ของคุณอาจจะเพิ่มขึ้นจากเดิม ซึ้งต้อง ซื้อกรง อุกรณ์ต่างๆ ที่ใช้สำหรับเลี้ยงหนุแกสบี้ และ นอกจากนั้นก็ยังมีอาหารที่ หมดไปในแต่ละวัน อีกด้วยครับ
เรื่องของเวลา
เวลาการเอาใจใส่ หนูหรือสัตว์เลี้ยงของเรา มีความสำคัญ อยู่เหมือนกันครับ
ผู้เลี้ยงควรที่จะมีเวลาให้เขา เพราะว่า หนูแกสบี้บางชนิด ควรที่จำจับอาบน้ำ อย่างน้อยก็ 1 อาทิตย์ / 1 ครั้ง ซึ่ง เวลาว่างของคุณก็
จะหมดไปอีกด้วย พร้อมด้วยการเปลี่ยน ทำความสะอาดกรง อย่างเป็นประจำ ซึ่งถ้าหากคุณไม่ทำแล้ว กลิ่นฉี่ของเจ้าแกสบี้ ก็จะฉุนขึ้นทุกวัน




แต่ถ้าคุณพร้อมที่จะดูแลเจ้าแกสบี้น้อยแล้ว ละก็
แกสบี้ตัวนั้นจะพาความสุข ความน่ารัก และยังมีเรื่องราวต่างๆเป็นความทรงจำดีๆให้กับ ตัวเจ้าของผู้ที่เลี้ยง อย่างแน่นอนครับ