วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่3

ลักษณะการเรียงลำดับเนื้อหาของหนังสืออ้างอิง
เพื่อให้การค้นหาเรื่องที่การได้สะดวกและรวดเร็ว การจัดเรียงลำดับเนื้อหาของหนังสืออ้างอิงแต่ละประเภทจึงแตกต่างความเหมาะสม โดยทั่วไปมีการเรียงลำดับเนื้อเรื่อง 5 วิธี คือ
1. การเรียงตามลำดับอักษรแบบพจนานุกรม โดยไม่คำนึงว่าเรื่องนั้นๆจะเป็นชื่อ คน สถานที่ หรือชื่อวิชา
2. การเรียงตามลำดับอักษรเฉพาะประเภท เช่นเฉพาะชื่อคน เฉพาะชื่อวิชา
3. การเรียงตามลำดับเวลาหรือเหตุการณ์ เป็นการเรียงเนื้อหาตามลำดับก่อนหลังของเหตูการณ์ที่เกิดขึ้น
4. การเรียงลำดับตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ อาจเรียงตามลำดับของแต่ละประเทศในโลก
5. การเรียงตามวิธีแบ่งหมวดหมู่ โดยมากเป็นหนังสือประเภทบรรณานุกรมเพื่อให้ผุ้ใช้ทราบว่าในแต่ละหมวดวิชามีหนังสืออะไรบ้างใครเป็นผู้แต่ง
ประเภทของหนังสืออ้างอิง
หนังสืออ้างอิงอาจแบ่งเป็น 10 ประเภท ดังนี้
1. พจนานุกรม (Dictionaries)
2. สารานุกรม (Encyclopedias)
3. หนังสือรายปี (Yearbooks)
4. อักขรานุกรมชีวประวัติ (Biographical Dictionaries)
5. หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ (Geographical Sources)
6. สิ่งพิมพ์รัฐบาล (Government Publications)
7. หนังสือบรรณานุกรม (Bibliographies)
8. ดรรชนีวารสาร (Periodical Index)
9. นามานุกรม (Directories)
10. คู่มือต่างๆ (Handbook, Manuals)
ที่มา: ธาดาศักดิ์ วชิรปรีชาพงษ์. (2522), หนังสืออ้างอิง.หลัดบรรณารักษศาสตร์-
เบื้องต้น.ฉบับที่2.พิมพ์ที่ กรุงเทพฯ: สถานสงเคราะห์หญิงปากเกร็ด.

ที่มา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น