วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ส่งหัวข้อโปรเจ็ก

คลิกที่นี่ค่ะ

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่3

ลักษณะการเรียงลำดับเนื้อหาของหนังสืออ้างอิง
เพื่อให้การค้นหาเรื่องที่การได้สะดวกและรวดเร็ว การจัดเรียงลำดับเนื้อหาของหนังสืออ้างอิงแต่ละประเภทจึงแตกต่างความเหมาะสม โดยทั่วไปมีการเรียงลำดับเนื้อเรื่อง 5 วิธี คือ
1. การเรียงตามลำดับอักษรแบบพจนานุกรม โดยไม่คำนึงว่าเรื่องนั้นๆจะเป็นชื่อ คน สถานที่ หรือชื่อวิชา
2. การเรียงตามลำดับอักษรเฉพาะประเภท เช่นเฉพาะชื่อคน เฉพาะชื่อวิชา
3. การเรียงตามลำดับเวลาหรือเหตุการณ์ เป็นการเรียงเนื้อหาตามลำดับก่อนหลังของเหตูการณ์ที่เกิดขึ้น
4. การเรียงลำดับตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ อาจเรียงตามลำดับของแต่ละประเทศในโลก
5. การเรียงตามวิธีแบ่งหมวดหมู่ โดยมากเป็นหนังสือประเภทบรรณานุกรมเพื่อให้ผุ้ใช้ทราบว่าในแต่ละหมวดวิชามีหนังสืออะไรบ้างใครเป็นผู้แต่ง
ประเภทของหนังสืออ้างอิง
หนังสืออ้างอิงอาจแบ่งเป็น 10 ประเภท ดังนี้
1. พจนานุกรม (Dictionaries)
2. สารานุกรม (Encyclopedias)
3. หนังสือรายปี (Yearbooks)
4. อักขรานุกรมชีวประวัติ (Biographical Dictionaries)
5. หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ (Geographical Sources)
6. สิ่งพิมพ์รัฐบาล (Government Publications)
7. หนังสือบรรณานุกรม (Bibliographies)
8. ดรรชนีวารสาร (Periodical Index)
9. นามานุกรม (Directories)
10. คู่มือต่างๆ (Handbook, Manuals)
ที่มา: ธาดาศักดิ์ วชิรปรีชาพงษ์. (2522), หนังสืออ้างอิง.หลัดบรรณารักษศาสตร์-
เบื้องต้น.ฉบับที่2.พิมพ์ที่ กรุงเทพฯ: สถานสงเคราะห์หญิงปากเกร็ด.

ที่มา

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่2

ลักษณะของหนังสืออ้างอิงที่ดี
1.ผู้แต่งหรือผู้รวบรวม (Authority) เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องที่เขียนอย่างแท้จริง
2.ขอบเขตของหนังสือ (
Scope) ควรแจ้งให้ผู้ใช้ทราบว่ามีขอบเขตใช้ค้นคว้า เรื่องราวชนิดใดได้บ้าง และควรมีเนื้อหาทันสมัย
3.วิธีเขียน (
Treatment) เขียนให้เข้าใจง่าย ไม่สับสน
4.การเรียงลำดับ (
Arrangement) จัดเรียงลำดับเนื้อหาให้ใช้ง่าย แลสะดวก ในการค้นคว้า
5.รูปเล่ม (
Format) ขนาดรูปเล่มกะทัดรัด การเย็บเล่มเข้าปกแข็งแรงทนทาน
7.บรรณานุกรม (
Bibliography) มีรายชื่อหนังสือและวัสดุอ้างอิงที่ใช้ประกอบการเรียบเรียง เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าเรื่องนั้นน่าเชื่อถือเพียงใด และจะค้นหาอ่านเพิ่มเติมได้จากที่ใด
7.ลักษณะพิเศษอื่นๆ ที่อำนวยความสะดวกในการค้นคว้าเรื่องราวต่างๆ เช่น

7.1 Volume Guide คือตัวเลข ตัวอักษร
7.2 ดรรชนีหัวแม่มือ (
Thumb Index)
7.3
Running Head หรือ Guide Word คือคำที่ปรากฏอยู่ที่มุมบนทั้งสองของกระดาษทุกหน้า
7.4 ส่วนโยง
Cross Reference คือการแนะนำให้ไปอ่านเรื่องที่การ
7.5 ดรรชนี (
Index) คือการลำดับที่คำหรือข้อความเรียงไว้ตามลำดับตัวอักษรมีเลขหน้ากำกับไว้ เพื่อแสดงว่าคำหรือข้อความนั้นๆมีรายละเอียดปรากฏอยู่ในหน้าใดบ้างของหนังสือเล่มนั้นช่วยประหยัดเวลาในการค้นคว้าเรื่องราวต่างๆ

ที่มา

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่1

หนังสืออ้างอิง
ความของหนังสือหนังสืออ้างอิง
หนังสืออ้างอิง (Reference Books) คือหนังสือที่ใช้เรื่องราวและข้อเท็จจริง เพื่อใช้ค้นคว้าอ่านประกอบ หรืออ้างอิงเรื่องราวเพียงตอนใดตอนหนึ่งในเล่มเท่านั้น ไม่ใช้หนังสือที่ต้องอ่านทั้งเล่ม เพื่อความสะดวกในการค้นคว้า ห้องสมุดจะจัดแยกหนังสืออ้างอิงออกจากหนังสือธรรมดาและไม่อนุญาตให้ยืมออกนอกห้องสมุด
ลักษณะทั่วไปของหนังสืออ้างอิง
หนังสืออ้างอิงจะมีลักษณะทั่วๆไปดั้งนี้
1.เป็นหนังสือที่มุ่งให้ข้อเท็จจริงและความรู้เป็นสำคัญ
2.รวบรวมความรู้ในสาขาวิชาต่างๆมีขอบเขตกว้างขวางเพื่อใช้ตอบปัญหาทั่วๆไป
3.เขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิหลายๆท่าน แต่ละท่านเป็นผู้ที่ มีความรู้ความชำนาญในเรื่องนั้นๆอย่างแท้จริง
4.จัดเรียบเรียงเนื้อเรื่องไว้อย่างมีระเบียบ เพื่อให้ใช้ได้สะดวกและรวดเร็ว
5.มักมีขนาดแตกต่างจากหนังสือธรรมดา เช่นขนาดใหญ่กว่า มีความยาวมาก
6.ไม่จำเป็นต้องอ่านตลอดทั้งเล่ม
7.ไม่อนุญาตให้ยืมออกนอกห้องสมุด เพราะ
7.1 เป็นหนังสือที่ใช้อ่านชั่วคราวไม่ต้องอ่านทั้งเล่ม
7.2 ราคาค่อนข้างแพง
7.3 มักมีขนาดใหญ่
7.4 บางทีเป็นชุดมีหลายจบ ถ้าเล่มใดเล่มหนึ่งหายไป จะทำให้ประโยชน์ของหนังสือชุดนั้นขาดความสมบูรณ์ไป
7.5 หนังสืออ้างอิงมีผู้ใช้มาก ห้องสมุดจำเป็นต้องจัดหนังสือเหล่านี้ไว้ให้พร้อมสำหรับผู้ใช้อยู่เสมอ
หนังสืออ้างอิงภาษาไทยจะมีอักษร (อ้างอิง) และหนังสืออ้างอิงภาษาอังกฤษจะมี R หรือ Ref (Reference) อยู่เหนือเลขเรียกหนังสือทุกเล่ม


ที่มา